มิเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร? เลือกยังไงให้เหมาะกับบ้าน

รู้จักกับมิเตอร์ไฟฟ้า

รวมเรื่องน่ารู้ของมิเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกบ้านต้องมี

การใช้ไฟฟ้านั้นต้องมีมิเตอร์ไฟฟ้าซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการจดบันทึกว่าบ้านแต่ละหลังใช้ไฟไปปริมาณเท่าไหร่ เป็นเงินกี่บาท ในแต่ละเดือน และเพื่อเป็นการเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับบ้านคุณ วันนี้ YLN Electric ขอพาไปทำความรู้จักมิเตอร์วัดไฟฟ้ากันให้มากขึ้น ทั้งประเภทมิเตอร์ไฟฟ้า และ การเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า
พร้อมแนะนำอุปกรณ์ประหยัดพลังงานจากร้านขายหลอดไฟ LED เพื่อลดปัญหาค่าไฟแพงในปัจจุบัน

ไขข้อสงสัย มิเตอร์ไฟฟ้า คืออะไร? แบ่งตามการใช้งานได้กี่ประเภท

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักประเภทมิเตอร์ไฟฟ้า จำเป็นต้องรู้จักกับมิเตอร์ไฟฟ้าว่าเป็นเครื่องมือวัดพลังงานไฟฟ้าต่อระยะเวลาที่ใช้งานทั้งในบ้านเรือนและในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh)
ตามปกติมิเตอร์วัดไฟฟ้าจะถูกติดตั้งในบริเวณพื้นที่ภายนอกบ้านหรือภายนอกอาคาร เพื่อให้การเลือกซื้อมิเตอร์ไฟฟ้าที่ YLN Electric ร้านขายส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าและหลอดไฟฟ้าครบวงจรเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไปดูกันต่อว่าประเภทมิเตอร์ไฟฟ้า
ตามการใช้งาน มีอะไรบ้าง?

1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โดยมิเตอร์วัดไฟฟ้าจะบันทึกการใช้พลังงานไฟฟ้าในหน่วยกิโลวัตต์ชั่วโมง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระในแต่ละรอบบิล

2. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดเล็ก

สำหรับมิเตอร์วัดไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดเล็ก คือ เครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของกิจการที่มีขนาดเล็ก เช่น ร้านค้า สำนักงานขนาดเล็ก หรือธุรกิจที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก เป็นต้น ซึ่งการทำงานของมิเตอร์ประเภทนี้จะเหมือนกับมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย แต่อาจมีฟังก์ชันเพิ่มเติมเพื่อรองรับการโหลดไฟฟ้าที่สูงกว่า

3. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดกลาง

คืออุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่มีขนาดกลาง อย่างโรงงานขนาดกลาง ห้างสรรพสินค้า หรือสำนักงานขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้าสูงกว่ากิจการขนาดเล็กแต่ยังไม่ถึงระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้มิเตอร์
วัดไฟฟ้าสามารถรองรับการโหลดไฟฟ้าที่สูงกว่า รวมถึงมีฟังก์ชันเพิ่มเติมเพื่อช่วยจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

4. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดใหญ่

เป็นเครื่องมือวัดพลังงานไฟฟ้าของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก ทำให้มิเตอร์วัดไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่มาพร้อมความสามารถในการรองรับโหลดไฟฟ้าที่สูงมาก
รวมถึงมีฟังก์ชันการจัดการพลังงานที่ซับซ้อน เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย

5. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการเฉพาะอย่าง

คือมิเตอร์วัดไฟฟ้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อวัดและจัดการการใช้ไฟฟ้าของธุรกิจหรือกิจการที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีความต้องการและรูปแบบการใช้พลังงานที่แตกต่างจากกิจการทั่วไป เช่น การใช้ไฟฟ้าเพื่อกิจการโรงแรม หรือการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย เป็นต้น

6. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดพลังงานไฟฟ้าขององค์กรที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริการหรือทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์
โดยไม่ได้มุ่งเน้นกำไร ซึ่งมีความต้องการในการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและการจัดการพลังงานที่มีค่าใช้จ่ายต่ำเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

7. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร

ส่วนมิเตอร์วัดไฟฟ้าสำหรับกิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร เป็นอุปกรณ์วัดพลังงานไฟฟ้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อวัดและจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าของปั๊มน้ำหรืออุปกรณ์สูบน้ำที่ใช้ในการเกษตรโดยเฉพาะ

8. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟชั่วคราว

สำหรับมิเตอร์วัดไฟฟ้าประเภทนี้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา
สั้น ๆ หรือในโอกาสพิเศษที่ไม่ได้ใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดงานเทศกาล งานก่อสร้างชั่วคราว หรืองานแสดงสินค้า เป็นต้น

ทำความเข้าใจมิเตอร์ไฟฟ้ามีกี่ขนาด ควรเลือกขนาดไหนถึงเหมาะสม

เนื่องจากมิเตอร์วัดไฟฟ้ามีอยู่หลายประเภท ทั้งมิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ในที่พักอาศัย ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม แต่รู้ไหมว่ามิเตอร์ไฟฟ้านั้นมีหลายขนาดตามประเภทการใช้งาน โดยขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่พบได้ในชีวิตประจำวัน มีรายละเอียดดังนี้

ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาดการใช้ไฟฟ้า
มิเตอร์ 5(15) เฟส 1 ไม่เกิน 10 แอมแปร์
มิเตอร์ 15(45) เฟส 1 11-30 แอมแปร์
มิเตอร์ 30(100) เฟส 1 31-75 แอมแปร์
มิเตอร์ 50(150) เฟส 1 76-100 แอมแปร์
มิเตอร์ 15(45) เฟส 3 ไม่เกิน 30 แอมแปร์
มิเตอร์ 30(100) เฟส 3 31-75 แอมแปร์
มิเตอร์ 50(150) เฟส 3 76-100 แอมแปร์
มิเตอร์ 200 เฟส 3 101-200 แอมแปร์
มิเตอร์ 400 เฟส 3 201-400 แอมแปร์
หมายเหตุ : แอมแปร์ (Ampere) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า แอมป์ (สัญลักษณ์ : A) เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าหรือปริมาณของประจุไฟฟ้าต่อวินาที มิเตอร์ไฟ เฟส 1 คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันอยู่ที่ 220 โวลต์ โดยมีสายไฟ 2 สาย คือ สายไฟ (L)
และสายนิวทรอล (N) ต่อเข้ากับตู้เมนไฟฟ้าในบ้าน (Main Breaker) มิเตอร์ไฟ เฟส 3 คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดัน 380 โวลต์ มีสายไฟ 4 เส้น ได้แก่ สายไฟ (L) จำนวน 3 เส้น และสายนิวทรอล (N) 1 เส้น ต่อเข้ากับตู้เมนไฟฟ้า

 

มิเตอร์ไฟฟ้า TOU คือ? มีวิธีคิดค่าไฟฟ้ากี่แบบ และเหมาะกับใคร

ก่อนเลือกมิเตอร์ไฟฟ้ามาใช้ในบ้าน ควรพิจารณาปริมาณการใช้ไฟควบคู่กันไป เพราะแต่ละบ้านใช้ไฟไม่เหมือนกัน ซึ่งการเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการใช้ไฟจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น และในปัจจุบันหลายบ้านหันมาใช้มิเตอร์ไฟ TOU แทนมิเตอร์ไฟฟ้าทั่วไปมากขึ้น โดยวันนี้ YLNE ร้านขายส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าจากแบรนด์ชั้นนำขอพามาดูว่า มิเตอร์ไฟ TOU
คืออะไร? มีการคิดค่าไฟแบบไหน รวมถึงเหมาะกับใคร 

สำหรับมิเตอร์ TOU (Time of Use Tariff) หรืออัตราค่าไฟฟ้า TOU เป็นระบบการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าที่คิดตามช่วงเวลา
การใช้งานของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยแบ่งการคิดค่าไฟฟ้าตามอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้า ดังนี้

On Peak
(ช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง)

ช่วงเวลา 09.00-22.00 น. 
(จันทร์-ศุกร์)

Off Peak
(ช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ)

ช่วงเวลา 22.00-09.00 น. 
(จันทร์-ศุกร์)

ช่วงเวลา 00.00 – 24.00 น.
(เสาร์-อาทิตย์ วันหยุดราชการตามปกติ
และตามมติคณะรัฐมนตรี)

หมายเหตุ : Off Peak  ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย

 

อัตราค่าไฟฟ้า TOU ใครเป็นผู้กำหนด ที่นี่มีคำตอบ

สำหรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าทั่วไปและอัตราค่าไฟฟ้า TOU มีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นผู้กำหนดอัตรา
ค่าไฟฟ้าภายใต้นโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

มิเตอร์ไฟฟ้า TOU เหมาะกับผู้ใช้ไฟฟ้าแบบไหน?

หากพิจารณาลักษณะการคิดค่าไฟแบบ TOU พบว่าเหมาะกับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย กิจการหรือธุรกิจ และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีพฤติกรรมการใช้ไฟในช่วง Off-Peak หรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่สามารถบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม
ตามช่วงเวลาที่ได้รับประโยชน์ เช่น ลดการใช้ไฟฟ้า หรือหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักรในช่วง Peak เป็นต้น

แม้มิเตอร์ไฟฟ้า TOU เป็นวิธีคิดค่าไฟฟ้าตามอัตราการใช้งานในแต่ละช่วงเวลา แต่การใช้มิเตอร์ TOU จะช่วยประหยัดไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันให้น้อยลง และหันมาใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืนหรือวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งมีอัตราการคิดค่าไฟที่ต่ำกว่าจะช่วยให้เราประหยัดและลดค่าไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้มิเตอร์ไฟฟ้าแบบธรรมดา

การเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะกับที่พักอาศัย ต้องทำอย่างไร?

ในการเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อการใช้งานในบ้านเรือน จำเป็นต้องพิจารณาถึงจำนวนสมาชิกในบ้านและจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันและอนาคต เพื่อคำนวณกระแสไฟฟ้าเบื้องต้นว่าบ้านของเราเหมาะกับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเท่าไหร่?

สูตรคำนวณกระแสไฟฟ้าเบื้องต้น

[กำลังไฟฟ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น (วัตต์) ÷  ความต่างศักย์ (โวลต์) ] x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น = กระแสไฟฟ้าทั้งหมด

สูตรคำนวณกระแสไฟฟ้าในอนาคต

กระแสไฟฟ้าทั้งหมด x 1.25 = ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ตัวอย่าง

เมื่อคำนวณกระแสไฟฟ้าจากอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้านของนาย A จะได้ดังนี้

  • พัดลมตั้งพื้น 70 วัตต์ จำนวน 2 ตัว = (70 ÷ 220) x 2 = 0.64 แอมแปร์
  • หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ จำนวน 8 หลอด = (36 ÷ 220) x 10 = 1.64 แอมแปร์
  • เครื่องปรับอากาศ 1,200 วัตต์ จำนวน 3 เครื่อง = (1,200 ÷ 220) x 3 = 16.37 แอมแปร์
  • หม้อหุงข้าว 450 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง = (450 ÷ 220) x 1 = 2.05 แอมแปร์
  • เตารีด 450 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง = (450 ÷ 220) x 1 = 2.05 แอมแปร์ 
  • เครื่องซักผ้า 3,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง = (3,000 ÷ 220) x 1 = 13.64 แอมแปร์ 
  • โทรทัศน์ 40 วัตต์ จำนวน 2 เครื่อง = (40 ÷ 220) x 2 = 0.36 แอมแปร์
  • ตู้เย็น 80 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง = (80 ÷ 220) x 1 = 0.36 แอมแปร์

เมื่อนำกระแสไฟฟ้าทั้งหมดมารวมกัน จะเท่ากับ 37.11 แอมแปร์ เมื่อนำมาคูณกับ 1.25 จะได้ปริมาณกระแสไฟฟ้า คือ 46.40 แอมแปร์ จึงยังสามารถใช้ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า 30(100) เนื่องจากการใช้ไฟฟ้ายังไม่เกิน 75 แอมแปร์ อีกทั้งปกติเราจะไม่ได้ใช้อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าพร้อม ๆ กันอยู่แล้ว

มิเตอร์ไฟฟ้าหมุนเร็ว ค่าไฟพุ่ง เกิดจากอะไร? มีวิธีแก้ปัญหาไหม

หากผู้ใช้ไฟฟ้าตรวจพบว่ามิเตอร์วัดไฟฟ้าหมุนเร็วผิดปกติ นั่นคือ 1 นาที มิเตอร์หมุนมากกว่า 1 รอบ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำลังเกิดปัญหาไฟรั่วในบ้านหรือมีเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด แน่นอนว่าไฟฟ้ารั่วถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะไม่ใช่แค่อันตรายจากการถูกไฟช็อตจนบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือก่อให้เกิดเพลิงไหม้บ้าน แต่ปัญหามิเตอร์ไฟฟ้าหมุนเร็วยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟฟ้าภายในบ้านพุ่งสูงอีกด้วย ดังนั้นหากตรวจพบความผิดปกติ แนะนำให้ตามช่างผู้เชี่ยวชาญมาช่วยจัดการปัญหาเหล่านี้ทันที

เลือกใช้หลอดไฟคุณภาพ ตอบโจทย์การใช้งานและประหยัดไฟกว่าที่คิด

นอกจากการเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะกับบ้าน การซื้อหลอด LED หรือหลอดประหยัดพลังงานก็เป็นอีกทางเลือกที่สามารถลดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้จริง เพราะหลอดไฟ LED ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไฟทั่วไป แถมยังกินพลังงานไฟต่ำ
ซึ่ง YLN Electric ร้านขายส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าและหลอดไฟฟ้าครบวงจรก็มีหลอดไฟคุณภาพ ประเภทประหยัดพลังงาน
จัดจำหน่าย ได้แก่

  • ชุดหลอดไฟ LED T5 ที่มักใช้ในโคมไฟเส้นตรง ไฟแถบ ไฟหลืบ และไฟบ้านทั่วไป
  • ชุดหลอดไฟ LED T8 มีตัวเลือกของจำนวนวัตต์ให้เลือก 2 รูปแบบ คือ LED T8 18 วัตต์ และ LED T8 9 วัตต์
  • หลอด LED BULB หรือหลอดไฟ LED แบบกระเปาะ เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานทางเลือกใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นมา
    เพื่อแทนหลอดไส้และหลอดตะเกียบ

ได้รู้กันแล้วว่ามิเตอร์ไฟฟ้ามีหลายขนาด ซึ่งการเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าและประเภทมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับที่พักอาศัยของเรา นอกจากใช้งานไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าให้ตรงกับไลฟ์สไตล์และปริมาณการใช้เหมาะสมยังประหยัดค่าไฟได้มากกว่าที่คิด สำหรับใครที่มองหามิเตอร์วัดไฟฟ้า หลอดประหยัดพลังงาน และอุปกรณ์ไฟฟ้า
ต่าง ๆ สามารถเลือกดูสินค้าหรือปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญผ่าน LINE Official ของ YLN Electric ที่ @ylne หรือโทร
02-622-4835 ได้เลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็ปไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก